กรมกำลังพลทหาร

กองบัญชาการกองทัพไทย

Get Adobe Flash player

 

กำเนิดกิจการกำลังพลในทางทหาร

            ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๐๓๔  พ.ศ.๒๐๓๕) ได้มีการจัดตั้ง กรมสุรัสวดี” 
หรือ กรมพระสุรัสวดีมีหน้าที่จัดส่งเจ้าหน้าที่สัสดีไปประจำ ณ หัวเมืองต่าง ๆ  เพื่อจ่ายเลข (ตัวเลขที่สักท้องแขนชายไทย)
 
ขึ้นทะเบียน คน เป็น ไพร่” ดังนั้น กรมสุรัสวดี จึงเป็นกรมใหญ่  มีฐานะคล้ายกระทรวง ควบคุมบัญชีไพร่พลทั่วประเทศ 
มีผู้บังคับบัญชากรม คือ พระสุรัสวดี ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ กำกับเจ้าขุนมูลนาย ทุกกรมกองทั้งฝ่ายกลาโหม และ ฝ่ายมหาดไทย 
ซึ่งต้องส่งบัญชียอดจำนวน
 ไพร่ ในสังกัด พร้อมเลขทะเบียนประจำตัวให้ กรมสุรัสวดี ควบคุมในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบการเกณฑ์
ไพร่พล เพื่อจัดกองทัพในยามต้องการกำลังพลเข้าทำศึกสงคราม จึงนับได้ว่า กรมสุรัสวดี ถือเป็น ต้นกำเนิดของกิจการด้านกำลังพล
ในทางทหารของประเทศไทย มาตั้งแต่ในครั้งสมัยอยุธยาเป็นต้นมา

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปรับปรุงกิจการทหารให้เป็นแบบอย่างยุโรป จึงได้ทรงจัดตั้งกระทรวงกลาโหม 
และกระทรวงมหาดไทยขึ้น พร้อมได้ยก กรมสุรัสวดี
 ไปขึ้นกับกระทรวงกลาโหม 

เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ และในปี พ.ศ.๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนชื่อจาก
 “กรมสุรัสวดี” เป็น กรมสัสดี

พ.ศ.๒๔๔๖ ได้ออกข้อบังคับลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๒ 

พ.ศ.๒๔๔๘ ได้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๔ 

พ.ศ.๒๔๗๙ ได้ตราพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๗๙ 

พ.ศ.๒๔๘๐ ยุบกรมสัสดีปรับโอนภารกิจให้กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม และให้กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบการเกณฑ์ทหาร 

พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ตราพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย
 เป็นผู้รักษาการพระราชบัญญัติฉบับนี้ 

พ.ศ.๒๕๑๓ กองทัพบก ได้จัดตั้ง กรมการกำลังสำรองทหารบก ให้มี กองการสัสดี เป็นหน่วยรอง  มีหน้าที่ควบคุมและจัดกำลังพล
ไปเป็น สัสดีจังหวัด และ สัสดีอำเภอ
 

พ.ศ.๒๕๑๖ ให้กองทัพบก โดย กรมการกำลังสำรองทหารบก (กองการสัสดี) รับหน้าที่ การเกณฑ์ทหารประจำปี แทน กระทรวงมหาดไทย

 

 

"พระสุรัสวดี" เป็นรูปเทวดานั่งอยู่บนฐานสูงมีผ้าทิพย์ห้อยหน้าพระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวาถือสารบัญชีไพร่พล 
ปัจจุบันรูปแกะสลักลอยของ 
พระสุรัสวดี” ซึ่งทำด้วยไม้โดยช่างหลวงสมัยกรุงธนบุรี ยังคงเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
ณ ห้องอาวุธ ตู้ ๒๙๕ หมายเลขวัตถุ ถ.๑-๑ ซึ่งกระทรวงกลาโหม
จัดส่งไปให้เมื่อคราวก่อตั้งพิพิธภัณฑ์

 

ประวัติกรมกำลังพลทหาร

             ก่อนที่ "กำลังพลทหาร" จะได้รับการก่อตั้ง ให้เป็นหน่วยขึ้นตรงหน่วยหนึ่งของ กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อปี ๒๕๐๓ นั้น
ได้มีส่วนราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
สายงานกำลังพลในระดับต่าง ๆ มาก่อนแล้ว โดยเป็นหน่วยงานระดับตั้งแต่ ฝ่าย แผนก กอง และ กรม 
ของส่วนราชการในหน่วย ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามวิวัฒนาการของกองบัญชาการทหารสูงสุด 
และโดยที่หน่วยงาน กำลังพลดังกล่าว มีส่วนผูกพันกับหน่วยเกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วย จึงขอกล่าวถึงประวัติย่อของกองบัญชาการทหารสูงสุด
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำลังพลแต่ต้นโดยสรุปเป็น ๒ ยุค ดังนี้

ยุคก่อนก่อตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด

     ๑ เมษายน ๒๔๐๓ ตั้งกระทรวงยุทธนาธิการ มีกรมทหารบก (กองทัพบก) และ กรมทหารเรือ (กองทัพเรือ)

     ๑ เมษายน ๒๔๐๕ เปลี่ยนชื่อกระทรวงยุทธนาธิการเป็นกระทรวงกลาโหม แบ่งส่วนราชการออกเป็น กรมยุทธนาธิการ (กองทัพบก) 
กรมทหารเรือ (กองทัพเรือ) (กองทัพอากาศ
 ซึ่งเดิมเป็นกรมอากาศยานกองทัพบก แล้วแยกเป็น กรมทหารอากาศ ได้ตั้งขึ้น
เมื่อ ๑๒ เมษายน ๒๕๐๘)

     ๑ สิงหาคม ๒๔๘๑ ตั้งกรมเสนาธิการทหารเป็นหน่วยขึ้นตรง กระทรวงกลาโหม มี เสนาธิการทหาร เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่พิจารณาการป้องกันราชอาณาจักร เตรียมและวางแผนการสงครามกับประสานงานระหว่าง กองทัพบกกองทัพเรือ และ กองทัพอากาศให้ดำเนิน ไปตามนโยบายของประเทศ มีรูปการจัดแบบ เสนาธิการผสมชนิดหน่วยต่อหน่วย แบ่งหน่วยงานออกเป็น ๓ แผนก ได้แก่ แผนกทหารบก แผนกทหารเรือ แผนกทหารอากาศ (ต่อมาได้ปรับปรุงรูปการจัดเป็นแบบ การจัดกรมเสนาธิการของกองทัพ และเพิ่ม "กองบังคับการ" เป็นหน่วยขึ้นตรงอีก ๑ หน่วย)

     ๑ เมษายน ๒๔๙๑ ปรับปรุงหน้าที่และการจัดกรมเสนาธิการทหารใหม่ โดยมีหน้าที่ประสานแผนการ ใช้กำลังทัพต่าง ๆ และการเตรียมการสงครามของกองทัพทั้ง ๓ ตามนโยบายการสงครามของสภาป้องกันราชอาณาจักร เพิ่มตำแหน่ง รองเสนาธิการทหาร ๓ นาย (ฝ่ายกองทัพบกกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) กับ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอีก ๓ นาย จัดส่วนราชการใหม่เป็น ๕ หน่วย โดยเปลี่ยนชื่อ แผนกเหล่าทัพต่าง ๆ เป็นชื่อกลางๆใช้หมายเลขแทนใช้กำลังพลทั้งสามเหล่าทัพ ปฏิบัติงานร่วมกัน คือ 

            ๑. กองกลาง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไป และการรับส่งหนังสือ
            ๒. แผนกที่ ๑ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการระดมกำลังทั้งปวง วางหลักการบำเหน็จ 
ความชอบ ที่จะต้องใช้ในยามสงคราม
            ๓. แผนกที่ ๒ (งานด้านการข่าว) 
            ๔. แผนกที่ ๓ (งานด้านยุทธการ) 
            ๕. แผนกที่ ๔ (งานด้านส่งกำลังบำรุง) ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ เปลี่ยนชื่อ "กรมเสนาธิการทหาร" 
เป็น "กรมเสนาธิการกลาโหม" แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๕ แผนก (ยกเลิกใช้หมายเลขเป็นชื่อแผนก)             
            ๑. แผนกกลาง 
            ๒. แผนกข่าว 
            ๓. แผนกสภาและคณะเสนาธิการผสม 
            ๔. แผนกยุทธการ 
            ๕. แผนกกระดมสรรพกำลัง 
            ๖. แผนกอำนวยการศึกษาและวิจัย 
            (ต่อมาในปี ๒๔๙๕ ได้ยุบแผนกสภาและคณะเสนาธิการผสม และได้ตั้งกองอำนวยการ สัมพันธ์ต่างประเทศขึ้น) 

     ๓๐ มีนาคม ๒๔๙๗ ยกฐานะส่วนราชการจาก "แผนก " เป็น "กอง" เปลี่ยนชื่อ "แผนกกลาง" เป็น กองสารบรรณ" นอกนั้นใช้ชื่อเดิม 

     ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ ยกฐานะส่วนราชการระดับ "กอง " ขึ้นเป็น "กรม " พร้อมกับเติมคำว่า "เสนาธิการกลาโหม" ต่อท้ายชื่อ และแบ่งหน่วยราชการออกเป็น " กอง " คือ
            ๑. กรมสารบรรณเสนาธิการกลาโหม 
            ๒. กรมข่าวเสนาธิการกลาโหม 
            ๓. กรมยุทธการเสนาธิการกลาโหม 
            ๔. กรมสรรพกำลังเสนาธิการกลาโหม 
            ๕. กองอำนวยการสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
            ๖. กองอำนวยการศึกษาและวิจัย 
            ๗. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
            (ต่อมาเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๐ จัดตั้ง "โรงเรียนเสนาธิการผสม" ขึ้นเป็นหน่วยที่ ๘) 

     ๒๗ กันยายน ๒๕๐๐ ตั้งตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ แม่ทัพ (จอมพล สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ ขณะนั้นเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) 

     ๒๒ มกราคม ๒๕๐๑ ปรับปรุงหน้าที่และส่วนราชการกรมเสนาธิการกลาโหมใหม่ โดยตัดคำว่า "เสนาธิการ" ในชื่อหน่วยออก และจัดตั้ง "สำนักที่ปรึกษาการทหาร" ขึ้น เป็นหน่วยที่ ๙ การจัดและจัดชื่อหน่วย มีดังนี้ 

            ๑. ส่วนบัญชาการ (เมื่อแต่งตั้ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้ว) 
            ๒. ส่วนอำนวยการ 
                 (๑) สำนักที่ปรึกษาการทหาร 
                 (๒) กรมข่าวกลาโหม 
                 (๓) กรมยุทธการกลาโหม 
                 (๔) กรมส่งกำลังบำรุงกลาโหม 
                 (๕) กรมสารบรรณกลาโหม 
                 (๖) กองอำนวยการวิเทศสัมพันธ์ 
                 (๗) กองอำนวยการศึกษาวิจัย 
                 (๘) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
                 (๙) โรงเรียนเสนาธิการผสม 

ยุคหลังก่อตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด

     ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๓ แปรสภาพ "กรมเสนาธิการกลาโหม" ตั้งเป็น "กองบัญชาการทหารสูงสุด" หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่เตรียมกำลังรบและป้องกัน ราชอาณาจักร โดย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

     ๑ เมษายน ๒๕๐๓ แบ่งส่วนราชการ กองบัญชาการทหารสูงสุด (นอกจาก กองทัพบกกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) ออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้

            ๑. ฝ่ายเสนาธิการ 
                 (๑) สำนักเลขานุการกองบัญชาการทหารสูงสุด "ที่ตั้งกองบัญชาการทหารการสูงสุด (ส่วนหลังกระทรวงกลาโหม) 
                 (๒) กรมกำลังพลทหาร 
                 (๓) กรมข่าวทหาร 
                 (๔) กรมยุทธการทหาร 
                 (๕) กรมส่งกำลังบำรุงทหาร 
                 (๖) สำนักงานปลัดบัญชีทหาร 
            ๒. ฝ่ายกิจการพิเศษ 
                 (๑) ศูนย์รักษาความปลอดภัย 
                 (๒) กรมสารบรรณทหาร 
            ๓. ฝ่ายยุทธบริการ 
                 (๑) กรมพลังงานทหาร 
                 (๒) กรมการอุตสาหกรรมทหาร
            ๔. ฝ่ายการศึกษา 
                 (๑) กรมการศึกษาวิจัย 
                 (๒) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
                 (๓) โรงเรียนเสนาธิการผสม

            นับว่า "กรมกำลังพลทหาร" ได้ก่อตั้งขึ้นหลังจากการก่อตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในชั้นต้นนี้กำหนดให้ กรมกำลังพลทหาร มีหน้าที่พิจารณา เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการกำลังพล การวางแผน การบรรจุ เลื่อน ปลด ย้าย พิจารณา วางแผนและประสานแผนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เกี่ยว กับการรักษาระเบียบวินัย การสารวัตรทหาร การรักษาแบบ ธรรมเนียมทหาร การสวัสดิการ การจัดหากำลังพล การทดแทนกำลังพล การปลดพลและการปกครอง ในยามสงคราม มี เจ้ากรมกำลังพลทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๔ ส่วน คือ 
            ๑. แผนกธุรการ 
            ๒. กองนโยบายและแผน 
            ๓. กองจัดการ 
            ๔. กองการปกครอง
      
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ ปรับปรุงหน้าที่และการจัด บก.ทหารสูงสุด โดยยกเลิกวิธีการแบ่งฝ่ายเสนาธิการ และ ฝ่ายต่าง ๆ พร้อมกับการโอน ยุบ ย้าย เพิ่ม และ เปลี่ยนชื่อ ส่วนราชการบางส่วนใน กองบัญชาการทหารสูงสุด (เว้น กองทัพบกกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) ใหม่เป็นดังนี้ 

                 ๑. สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด 
                 ๒. กรมสารบรรณทหาร 
                 ๓. กรมกำลังพลทหาร 
                 ๔. กรมข่าวทหาร 
                 ๕. กรมยุทธการทหาร 
                 ๖. กรมส่งกำลังบำรุงทหาร 
                 ๗. กรมการสื่อสารทหาร 
                 ๘. กรมการศึกษาวิจัย 
                 ๙. วิทยาลัยป้องกันราชการอาณาจักร 
                 ๑๐. โรงเรียนเสนาธิการทหาร

            และต่อมา พ.ศ.๒๕๐๖ ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้แบ่งส่วนราชการใหม่โดยโอน กรมแผนที่ทหารบก   มาไว้ในสังกัด กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นหน่วยลำดับที่ ๘ ถัดจาก กรมการสื่อสารทหาร และเลื่อนหน่วย  ถัดมาตามลำดับหมายเลข (รวมเป็น ๑๑ หน่วย) สำหรับการจัด กรมกำลังพลทหาร คงแบ่งส่วนราชการเป็น      ๔ ส่วน เช่นเดิม โดยมี การแก้ไขหน้าที่เพิ่มเติมขึ้นดังนี้ มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น เกี่ยวกับนโยบายการกำลังพล การกำลังพล และวางแผนการบรรจุ เลื่อน ปลด ย้าย พิจารณาวางแผนและ ประสานแผนของ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เกี่ยวกับการจัดหากำลังพล การทดแทนกำลัง การปลดพล การรักษาระเบียบวินัย การสารวัตรทหาร การรักษาแบบธรรมเนียมทหาร และกิจการเกี่ยวกับขวัญกำลังใจ 
            พุทธศักราช ๒๕๐๖ แก้อัตราส่วนราชการ โดยตั้ง " กองสถิติ " เป็นกองฝ่ายอำนวยการขึ้นตรง      กรมกำลังพลทหาร เพิ่มขึ้นอีก ๑ กอง โดยชั้นต้นตำแหน่งหัวหน้ากอง เป็นอัตราพันเอก ได้รับการแก้ไขปรับปรุง เป็นอัตรา พันเอก (พิเศษ) ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๓ (ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ แก้เป็น "กองสถิติและกรรมวิธีข้อมูล")

      ๑๖ กันยายน ๒๕๒๖ แก้อัตราส่วนราชการ ฯ โดยเพิ่มตำแหน่ง "ผู้ช่วยเจ้ากรม " อัตรา พันเอก (พิเศษ)นาวาเอก (พิเศษ) และนาวาอากาศเอก (พิเศษ) (วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๑ แก้อัตราเป็น พลตรี พลเรือตรี และ พลอากาศตรี)

      ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๐ แก้อัตราส่วนราชการ ฯ โดยตั้งกองฝ่ายอำนวยการขึ้นตรง กรมกำลังพลทหาร อีก ๒ กอง คือ 

                 ๑. กองบริการกำลังพล (แปรสภาพมาจาก แผนกขวัญและบริการกำลังพล กับแผนกบำเหน็จและ วินัย กองการปกครอง) 
                 ๒. กองควบคุมคุณวุฒิ (แปรสภาพมาจาก แผนกควบคุม กองจัดการ) 

      ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๑ แก้อัตราส่วนราชการ ฯ เปลี่ยนชื่อเรียกตำแหน่ง "หัวหน้ากอง" ที่อัตรา พันเอก (พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) เป็น "ผู้อำนวยการกอง" 

      ๘ สิงหาคม ๒๕๓๒ แก้อัตราส่วนราชการ ฯ โดยตั้ง กองกลาง เป็นกองฝ่ายอำนวยการ ขึ้นตรง     กรมกำลังพลทหาร โดยยกเลิก แผนกธุรการ เดิมเสียทั้งสิ้น มี ผู้อำนวยการกอง อัตรา พันเอก (พิเศษ) 

      ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ย้ายที่ตั้งกรมกำลังพลทหาร จากกองบัญชาการทหารสูงสุดในพื้นที่ที่ตั้งเดิมกระทรวงกลาโหมและในพื้นที่บริเวณสนามเสือป่า เข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ณ อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ชั้น ๒    ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ ฯ

      ๑ เมษายน ๒๕๕๐ แก้อัตราส่วนราชการ โดยยกเลิกตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้ากรมกำลังพลทหาร” แล้วนำอัตรามาปรับเป็นตำแหน่ง รองเจ้ากรมกำลังพลทหาร” จากเดิม ๑ อัตรา เป็น ๒ อัตรา ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

      ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ แก้อัตราส่วนราชการ โดยนำยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๑ ) มาร่วมพิจารณาการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างการจัดและอัตรา ให้กรมกำลังพลทหารเป็นเป็นกรมเสนาธิการร่วม มีหน้าที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแลการดำเนินการด้านกำลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทย ลการบริหารจัดการกำลังพลร่วมกองทัพไทย เป็นหน่วยที่มีขีดความสามารถเกื้อกูลการอำนวยการให้กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นหน่วยปกครองบังคับบัญชา สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มรูปแบบทั้งในภาวะปกติและภาวะสงคราม รับโอนงานทางฝ่ายอำนวยการสายงานด้านการศึกษาจากกรมยุทธการทหาร และรับโอนงานทางฝ่ายอำนวยการสายงานงบประมาณกำลังพลจากสำนักงานปลัดบัญชีทหาร มีหน่วยขึ้นตรง ๖ หน่วยงาน ได้แก่ กองกลาง กองจัดการ กองการปกครอง กองบริการกำลังพล  กองพัฒนากำลังพล และสำนักนโยบายและแผนกำลังพล โดยมีรายละเอียดการแก้อัตราส่วนราชการ ดังนี้

                 ๑. ส่วนบัญชาการกรมกำลังพลทหาร 
                      (๑) ให้ รองเจ้ากรมกำลังพลทหาร (๒)” ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกำลังพล” อีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสถานภาพอัตรากำลังพลไม่ให้เพิ่มขึ้น
                      (๒) ปรับตำแหน่ง นายทหารงบประมาณ” จากเดิม อัตรา พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก” เป็น อัตรา พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท” 
                 ๒. กองกลาง ยกเลิกการจัดแผนกกรรมวิธีข้อมูล เนื่องจากมีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานในกองสถิติและกรรมวิธีข้อมูล มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกสารบรรณ แผนกธุรการและกำลังพล แผนกส่งกำลังและบริการ 
                 ๓. กองจัดการ รับมอบงานการควบคุมและตรวจสอบคุณวุฒิจากกองควบคุมคุณวุฒิ และปรับปรุงโครงสร้างการจัดภายในให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกจัดการชั้นสัญญาบัตร แผนกจัดการชั้นประทวน และแผนกทำเนียบและควบคุม
                 ๔. กองการปกครอง ปรับปรุงโครงสร้างการจัดภายในให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกวินัย แผนกปกครอง และแผนกแบบธรรมเนียม 
                 ๕. กองบริการกำลังพล ปรับปรุงโครงสร้างการจัดภายในให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกขวัญและบริการกำลังพล แผนกสิทธิกำลังพล และแผนกสวัสดิการ 
                 ๖. กองพัฒนากำลังพล เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการแปรสภาพจากกองควบคุมคุณวุฒิ เพื่อรองรับงานด้านการศึกษาที่รับโอนจากกรมยุทธการทหาร มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกพัฒนา   กำลังพล แผนกศึกษาภายในประเทศ และแผนกศึกษาต่างประเทศ 
                 ๗. สำนักนโยบายและแผนกำลังพล เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการปรับเกลี่ยอัตราภายใน          กรมกำลังพลทหาร เพื่อรองรับภารกิจงานการบริหารจัดการด้านกำลังพลร่วมของกองทัพไทย มีหน่วยขึ้นตรง    ๔ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกธุรการ กองนโยบายและแผน กองสถิติและกรรมวิธีข้อมูล และกองโครงการงบประมาณ แยกรายละเอียด ดังนี้ 
                      (๑) ส่วนบังคับบัญชา มีรองเจ้ากรมกำลังพลทหาร (๒) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกำลังพลเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
                      (๒) แผนกธุรการ เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการปรับเกลี่ยอัตราภายในกรมกำลังพลทหาร   เพื่อรับผิดชอบการดำเนินการด้านธุรการทั้งปวงของสำนักนโยบายและแผนกำลังพล
                      (๓) กองนโยบายและแผน เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการแปรสภาพจา ก
กองนโยบายและแผนกรมกำลังพลทหารและปรับปรุงโครงสร้างการจัดภายในให้มีขีดความสามารถ
ในการรองรับภารกิจงานการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารจัดการกำลังพลร่วมกองทัพไทย
มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกนโยบายและแผน แผนกจัดหากำลังพล และแผนกกำลังสำรอง
                      (๔) กองสถิติและกรรมวิธีข้อมูล เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการแปรสภาพจาก
กองสถิติและกรรมวิธีข้อมูลกรมกำลังพลทหารและปรับปรุงโครงสร้างการจัดภายในให้มีขีด
ความสามารถในการรองรับภารกิจงานการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังพลร่วมกองทัพไทย
มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงานได้แก่ แผนกวิเคราะห์ระบบงาน แผนกสถิติ และแผนกกรรมวิธีข้อมูล 
                      (๕) กองโครงการและงบประมาณ เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการปรับเกลี่ยอัตราภายใน
กรมกำลังพลทหารเพื่อรองรับภารกิจงานการบริหารจัดการงบประมาณด้านกำลังพลของ
กองบัญชาการกองทัพไทยและภารกิจงานการบริหารจัดการโครงการด้านกำลังพลของกองทัพไทย
ที่รับโอนจากสำนักงานปลัดบัญชีทหาร มีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกงบประมาณ 
แผนกบริหารงบประมาณ และแผนกโครงการ 

      ๑ เมษายน ๒๕๕๒ แก้อัตราส่วนราชการ โดยปรับโอนอัตราตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทยมาเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกำลังพล จำนวน ๑ อัตรา 

      ๑ เมษายน ๒๕๕๔ แก้อัตราส่วนราชการ ให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เพื่อให้ส่วนราชการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการปรับปรุงการจัดหน่วยงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่สามารถดำเนินการตามวงรอบการบริหารจัดการที่ดี มีการวางแผน การดำเนินตามแผน มีการวัดผลและการประเมินผล ตลอดจนมีการนำผลที่วัดได้มาพัฒนาหรือปรับปรุงแผนให้ดีขึ้น เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ 

 

                 ๑. กองจัดการ ปรับโครงสร้างจากเดิมมีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกจัดการชั้นสัญญาบัตร แผนกจัดการชั้นประทวน และแผนกทำเนียบและควบคุม เป็นมีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกจัดการกำลังพล แผนกสรรหาและบรรจุกำลังพล และแผนกแนวทางการรับราชการ 
                 ๒. กองพัฒนากำลังพล ปรับโครงสร้างจากเดิมมีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกพัฒนากำลังพล แผนกศึกษาภายในประเทศ และแผนกศึกษาต่างประเทศ เป็นมีหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ แผนกพัฒนากำลังพล แผนกแผนและโครงการ และแผนกการศึกษาและฝึกอบรม 
                 ๓. สำนักนโยบายและแผนกำลังพล ยกเลิกการจัดแผนกธุรการ คงเหลือหน่วยขึ้นตรง ๓ หน่วยงาน
ได้แก่ กองนโยบายและแผน กองสถิติและกรรมวิธีข้อมูล และกองโครงการงบประมาณ 
                 ๔. กองพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการปรับเกลี่ยอัตราภายในกรมกำลังพลทหาร เพื่อรองรับภารกิจงานการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน และงานการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล มีโครงสร้างการจัดหน่วยงานเป็นแบบกลุ่มงาน